รายละเอียด
เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต วันโรคหลอดเลือดสมองโลก
รศ.นพ. ประจักษ์ ศรีรพีพัฒน์
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุข
แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ประมาณ 150,000 คน ทุก 4 นาที
มีคนเป็นอัมพาต และทุกๆ 10 นาที จะมีผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเสียชีวิต 1 คน
สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 0.69% ของประชากรอายุเกิน 20 ปี
หรือประมาณ 690 ต่อแสนคน
เป็น 1.12% ของประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี หรือประมาณ 1,100 ต่อแสนคน
ในปี 2537 และในปี 2553 เพิ่มเป็น 2.4% หรือประมาณ 2,400 ต่อแสนคน ของประชากรที่มีอายุเกิน 40 ปี
รศ.นพ.ประจักษ์ ศรีรพีพัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า “โรคหลอดเลือดสมอง คือโรคที่มีการเจ็บป่วยของสมอง
อันเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ในที่นี้จะหมายถึงโรคหลอดเลือดสมองในคนสูงอายุแบบเฉียบพลัน
ซึ่งจะมี 2 แบบคือ “สมองขาดเลือดและเลือดออกในสมอง”
โรคหลอดเลือดสมองก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพ สร้างภาระต่อครอบครัวและประเทศชาติ
คนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้เป็นอันดับ 3 รองลงมาจากโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ
ผู้ป่วยอัมพาตมีค่าใช้จ่ายต่อปีคนละไม่ต่ำกว่าแสนบาท”
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมอง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง พบมากในกลุ่มคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
โรคหัวใจ โดยเฉพาะคนที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ สูบบุหรี่ มีโอกาสที่หลอดเลือดสมองจะแตกสูงกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
โรคอ้วน พกพาโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มสูงขึ้น
ยาต้านเกล็ดเลือด ยาป้องกันเลือดแข็งตัว อาจส่งผลข้างเคียงได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น
เพศชายเป็นมากกว่าเพศหญิง ชนผิวดำเป็นมากกว่าผิวขาว ญี่ปุ่นเป็นมากกว่าฝรั่ง เป็นต้น
ส่วนสัญญาณเตือนภัยที่ผู้ป่วยต้องรีบไปหาหมอทันที คือ เกิดภาวะอ่อนแรงของแขน ขา
และใบหน้าแบบเฉียบพลัน, ใบหน้าและลำคอชาไปครึ่งซีก, พูดลำบากหรือพูดไม่ได้พูดแล้วคนฟังไม่เข้าใจ,
ทรงตัวไม่มั่นคง, ดวงตาพร่ามัว และปวดศีรษะอย่างรุนแรง สำหรับ
วิธีป้องกัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทรงตัวไม่มั่นคง, ดวงตาพร่ามัว และปวดศีรษะอย่างรุนแรง สำหรับ
วิธีป้องกัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
โดยผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 50%
และในส่วนของผู้ป่วยแรกเป็นนั้น ต้องรู้ให้เร็ว มาให้ไว โดยผู้ป่วยต้องถึงมือหมอภายในเวลาไม่เกิน 3 ถึง 4 ชั่วโมงครึ่ง
ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาที่เรียกว่า Stroke Fast Track ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดหลังเกิดอาการผิดปกติ
ถ้าไปพบทันภายในเวลา 4 ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะทำการฉีดยาละลายลิ่มเลือดให้
วิธีการรักษานี้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและการพิการได้
และเพื่อให้คนไทยตระหนักถึงภัยอันตรายของโรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช
จึงได้จัดกิจกรรม “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 1” ในวันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 05.00 น.
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจะได้หาวิธีลดความเสี่ยง หลีกเลี่ยงอัมพาต
โดยแขกรับเชิญพิเศษที่เข้าร่วมกิจกรรมเดินวิ่งปั่นฯ อาทิ แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์
และหวานหวาน-อรุณณภา พาณิชจรูญ
เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม “เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 1” วันที่ 15-30 กันยายน 2558
ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ณ สำนักงานศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง (Siriraj Stroke Center)
อาคาร 72 ปี ชั้น 11 หรือดาวน์โหลดแบบฟอร์ม การสมัครได้ที่ www.si.mahidol.ac.th
ค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 300-400 บาท กำหนดรับเสื้อวันที่ 4-10 ตุลาคม 2558 ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 100 ปี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในเวลาราชการสนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ โทรศัพท์ 02-4141010
นอกจากนี้ รพ.ศิริราช ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการป้องกัน
ดูแลและรักษาโรคหลอดเลือดสมองแก่ประชาชนทั่วไปภายใต้ธีม “ตระหนัก ลดเสี่ยง เลี่ยงอัมพาต”
ในระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคาร 100 ปี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ภายในงานพบกิจกรรม อาทิ การเสวนาเรื่องโรคหลอดเลือดสมอง
กับอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แบ่งปันประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกับ เกรท-วรินทร ปัญหกาญจน์
กิจกรรมการตรวจสมรรถภาพร่างกายและวิธีกายภาพบำบัด ฯลฯ สาธิตและชิมเมนูสุขภาพกับ นก-ชาลิดา เถาว์ชาลี
พร้อมกิจกรรมบันเทิง อีกมากมาย อาทิ มินิคอนเสิร์ต ปาน-ธนพร และหนุ่ม-สมศักดิ์ วินัยรักษ์ แชมป์ The Voice Thailand Season 3
แหล่งที่มา : http://www.ryt9.com/s/nnd/2257210
แหล่งที่มา : http://www.ryt9.com/s/nnd/2257210