บทความ

โรคหลอดเลือดสมอง

Post Title

รายละเอียด

โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ เป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอีกทั้งยังเป็นสาเหตุการตายและความพิการที่สําคัญในประเทศไทย โรคนี้ถ้าเป็นแล้วแม้รอดชีวิตก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ และถ้ารีบรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการก็อาจช่วยให้รอดชีวิตและมีความพิการน้อยลงหรือกลับไปทํางานตามปกติพบได้ร้อยละ70 ส่งผลให้สมองส่วนนั้นไม่สามารถทํางานได้ตามปรกติ สาเหตุของหลอดเลือดตีบตันเกิดได้จากเกิดจากมีไขมันและหินปูนมาสะสมที่ผนังด้านในของหลอดเลือด ทําให้หลอดเลือดแคบลงเรื่อยๆ จนมีการอุดตันในที่สุด การเกิดหลอดเลือดแข็งนี้พบได้มากใน
ผู้สูงอายุผู้ที่มีโรคต่างๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงได้แก่ความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานภาวะไขมันในเลือดสูงสูบุหรี่จัดหรือดื่มสุราจัด ผู้ป่วยส่วนน้อยเกิดหลอดเลือดอุดตันจากโรคของหลอดเลือดเอง เช่นหลอดเลือดผิดปกติแต่กําเนิด หลอดเลือดอักเสบ หรือมีความผิดปกติ
ในการแข็งตัวของหลอดเลือดโดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคหัวใจบางชนิด ได้แก่โรคลิ้นหัวใจพิการโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดพบร้อยละ 30 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน ส่วนน้อยอาจเกิดจากหลอดเลือด
สมองผิดปกติโรคหลอดเลือดสมองแตกอาจแบ่งได้เป็นสาเหตุมักเกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดสมองบริเวณฐานกะโหลกศีรษะเมื่อมีเลือดออกในทันทีทันใดผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในบางรายอาจหมดสติหรือเสียชีวิต
ได้ตั้งแต่ระยะแรกจําเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วนผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทขึ้นมาทันทีจากเลือดทื่ออกจะไปกดเบียดเนื้อสมองทําให้สมองทํางานผิดปกติ นอกจากนี้ยังเกิดความดันในโพรงกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะ
คลื่นไส้อาเจียนถ้าเลือดที่ออกมีจํานวนมากหรือเลือดออกในก้านสมองผู้ป่วยอาจหมดสติหรือเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักจะมีอาการเป็นขึ้นอย่างรวด เร็วทันทีทันใดมีน้อยรายที่จะมีอาการเตือนส่วนมากมักจะมีประวัติว่าสบายดี
มาก่อน

อาการที่สําคัญ ได้แก่

 
1. อ่อนแรงครึ่งซีกมีอาการแขนขาอ่อนแรง ยกไม่ถนัดเดินลําบากอาจมีปากเบี้ยวร่วมด้วย อาการอ่อนแรงนี้ถ้าเป็นน้อยอาจเรียกว่า
ถ้าเป็นมากจนขยับไม่ได้เลยเรียกว่า
2. ชาครึ่งซีกอาจพบร่วมกับอาการอ่อนแรงหรือไม่ก็ได้ชาในที่นี้หมายถึงการเสียความรู้สึกเจ็บ,สัมผัสเมื่อหยิกหรือจับบริเวณที่ผิด
ปกติจะรู้สึกน้อยลงหรือถ้าเป็นมากอาจไม่รู้สึกเลย
3. ลิ้นแข็งพูดไม่ชัดพูดลําบากพูดตะกุกตะกักหรือฟังภาษาพูดไม่เข้าใจ
4. สายตาพร่ามัวมองไม่ชัดมองไม่เห็นเฉียบพลันอาจจะเป็นตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2ข้าง
5. ปวดศีรษะกะทันหันปวดร้าวทั้งศีรษะหรือมีอาการปวดศีรษะเปลี่ยนไปจากอาการที่เคยปวดเป็นประจํา ปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดย
ไม่มีสาเหตุชัดเจน
6. มีอาการวิงเวียนศีรษะมึนงงหรือเดินเซทรงตัวไม่อยู่
7. กลืนน้ําลายหรือกลืนอาหารลําบากเฉียบพลัน
8. ชักเกร็งหมดสติหายใจไม่สม่ําเสมอปากเบี้ยว แขนอ่อนแรงพูดไม่ชัด
 
โทร 1669   ในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะและคลื่นไส้อาเจียนมากร่วมกับอาการอ่อนแรง
ในบางรายอาจหมดสติ ความรุนแรงของอาการของโรคหลอดเลือดสมองขึ้นกับตําแหน่งของสมองที่เกิดโรคและปริมาณของสมอง
ถูกทําลายไป
1. ความดันโลหิตสูง
2. โรคเบาหวาน
3. โรคหัวใจ
4. ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
5. การสูบบุหรี่
6. การดื่มสุรา
7. ความอ้วน ขาดการออกกําลังกาย
8. ความเครียด
9. ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคอัมพฤกษ์
10. ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุมากขึ้น
 
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
1.ออกกําลังกายสม่ําเสมอ
2.ควบคุมน้ําหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
3.หลีกเลี่ยงน้ําอัดลมหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
4.หลีกเลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่
5.ตรวจสุขภาพประจําปเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงเช่นเบาหวานโรคหัวใจความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
ถ้าพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต้องรับการรักษา
และพบแพทย์อย่างสม่ําเสมอห้ามหยุดยาเอง
6.ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้วจะมีโอกาสเป็นซ้ําได้มากกว่าคนปกติ และมีอาการมากกว่าเดิม
กรณีเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
จะได้ยารับประทานเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ําเช่นยาแอสไพริน
7.หมั่นออกกําลังกายเป็นประจําสม่ําเสมอ
8.ลดความเครียดและทําอารมณ์ให้แจ่มใสร่าเริง
1. การตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุต่างๆ ได้แก่ตรวจระดับน้ําตาลในเลือดเพื่อดูโรคเบาหวานตรวจไขมันในเลือดการตรวจนับ
เม็ดเลือดเป็นต้น
2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
3. การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan)
4. การฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือด (Angiogram)
5. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
 
วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
แนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตกอาจมีความจําเป็น
ต้องผ่าตัดเอาก้อนเลือดออกในบางกรณีที่ทําได้ ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน การรักษาก็มีได้หลายแนวทาง
ขึ้นกับตําแหน่งของโรคและระยะเวลาก่อนที่จะมาพบแพทย์หากผู้ป่วยมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ
จะได้รับการรักษาโดยยาละลาย ลิ่มเลือดและจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันและรักษาภาวะ
แทรกซ้อนได้อย่างทันท่วงทีหากเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก และพบภาวะเลือดคั่งในสมอง แพทย์อาจทําการรักษาโดยการผ่าตัด
ในผู้ป่วยบางรายแต่ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักมากแพทย์อาจจะทําการรักษาแบบพยุงอาการหลังจากรักษาในระยะเฉียบพลันแล้ว
ผู้ป่วยควรได้รับการฟื้นฟูสภาพ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถทําให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองได้มากที่สุด
เท่าที่จะทําได้สิ่งที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งคือการป้องกันการเกิดซ้ําเนื่องจากผู้ที่ เคยมีอาการแล้วมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคซ้ําอีก
การป้องกันที่ดีที่สุดคือการระวังรักษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่นการควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม ควบคุมน้ําตาลในเลือด
และไขมันในเลือด ในผู้ที่มีหลอดเลือดสมองตีบอาจใช้ยาต้านเกร็ดเลือด เช่นยาในกลุ่ม แอสไพริน หรือยาป้องกันการแข็งตัว
ของเลือดชนิดรับประทาน
1. การกระตุ้นให้ทํากิจวัตรประจําวันด้วยตนเองเช่น เดิน ลุก นั่ง รับประทานอาหาร ขับถ่าย เพื่อพัฒนาศักยภาพของ
ผู้ป่วย และฟื้นฟูสภาพได้เร็วขึ้น ญาติควรให้กําลังใจผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดกําลังและมีความเชื่อมั่นในตนเอง
2. จัดอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยตามโรคประจําตัว
3. ผู้ป่วยมักจะนอนในช่วงกลางวัน ญาติควรจัดสถานที่ให้เหมาะสม ไม่มีสียงรบกวน
4. ผู้ป่วยอาจมีความหงุดหงิดซึมเศร้าท้อแท้ญาติควรเข้าใจไม่แสดงความรําคาญควรปลอบโยนให้กําลังใจผู้ป่วย
5. หากผู้ป่วยอุจจาระปัสสาวะราด ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าทําความสะอาดอวัยวะเพศ เพื่อไม่ให้เปยกชื้น ควรดูแลทําความสะอาดร่างกาย
ปากฟัน อาบน้ําสระผม แปรงฟัน บ้วนปากให้ผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่สามารถทําได้
1. ปอดอักเสบจากการนอนนานๆ และการสําลักอาหาร
2. ท้องผูก ซึ่งเกิดจากลําไส้ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว
3. แผลกดทับจากการนอนท่าเดียวนานๆ
4. แผลในกระเพาะอาหารจากภาวะเครียด หรืออาการข้างเคียงของยาแอสไพรินซึ่งมีฤทธิ์กัดกระเพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
เมื่อได้รับการรักษาในระยะแรกแล้ว จะหลงเหลือความผิดปกติทางกาย ที่ส่งผลกระทบทําให้เสียความสามารถต่างๆ ตามมา
 
การสูญเสียความสามารถ
การเปลี่ยนอิริยาบถ การย้ายตัวบนเตียง การเดิน การทํากิจวัตรประจําวันเช่น รับประทานอาหาร ทําความสะอาด ร่างกาย แต่งตัว
ทํางานบ้าน การเข้าสังคม
 
ที่มาของภาพประกอบ : http://sansiri-homecare.blogspot.com/2016/03/stroke-by-sansiri-home-care.html

PDF

VDO